Storytelling สู่การเป็น Storyselling

ความแตกต่างระหว่าง storytelling กับ storyselling

สร้างเรื่องราวให้แบรนด์ขายได้ด้วย Storytelling Canvas

การสร้าง Content ในสื่อโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักการตลาด แบรนด์หรือองค์กรเองต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก อย่างที่ใครๆ ก็พูดกันว่า “Content is the King” คุณรู้หรือไม่ว่า Content ที่ดีนั้นช่วยให้เกิดประโยชน์ในด้านไหน

  • การทำการตลาด ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  • การเข้าถึงลูกค้า ให้กลุ่มผู้บริโภค
  • รู้จักการสร้างความเชื่อมั่น 
  • การสร้างความจงรักภักดีต่อสินค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง 

ปัจจุบันการสร้าง Content (คอนเทนต์) มีหลากหลายรูปแบบที่ต่างกัน ด้วยการสร้างลูกเล่น ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวให้สะดุดตา สร้างความน่าสนใจ สะกดผู้เห็นให้ได้มากที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ดีการสร้างลูกเล่น หรือเนื้อหาข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์เอง หากขาดการเชื่อมโยงถึงตัวตนของแบรนด์ไปนั้น ก็เท่ากับการสร้างคอนเทนต์นั้นไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ แล้วเราควรโฟกัสไปที่รูปแบบไหนเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและทำให้เขายินดีพร้อมจ่ายให้แบรนด์เรามากที่สุด อ่าน 6 เทคนิคสร้างคอนเทนต์สำหรับมือใหม่

ทำความรู้จักว่า Storytelling และ Storyselling ต่างกันอย่างไร

Storytelling คืออะไร

storytelling คือ Content (คอนเทนต์) หรือเนื้อหาใด ๆ ที่โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการของเรานั่นแหล่ะ คีย์หลักของการทำ Stoytelling คือ เนื้อหาที่เป็นกระบอกเสียงของแบรนด์

โดยในแง่ของการสร้างคอนเทนต์นั้นเราสามารถหยิบใช้ หลักการวิเคราะห์ 5W1H เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างตอบโจทย์ด้วยเทคนิควิธีที่เห็นแล้วดูแล้วสะดุดตา และรับรู้ เข้าใจได้ทันที จะให้ดีภายใน 3 บรรทัดหรือไม่เกิน 5 วินาที

5W1H คืออะไร

  • Who (ใคร)
  • What (อะไร)
  • When (เมื่อไหร่)
  • Where (ที่ไหน)
  • Why (ทำไม)
  • How (อย่างไร)

เรื่องราวเหล่านี้ จะบอกสิ่งกลุ่มเป้าหมายสงสัย ก็คล้ายกับการบอกเล่า สร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้เกิด Action ในลำดับต่อไป คนส่วนใหญ่มักตั้งคำถามว่า สินค้านั้นคืออะไร ใช้ทำอะไร มีวิธีใช้อย่างไร ใครเป็นผู้ผลิต ส่วนผสมหรือวัตถุดิบหลักมีอะไร มีความแตกต่างจากสินค้าตัวอื่นอย่างไร ซึ่งเราก็จะจับเจ้าหลักการวิเคราะห์นั้นให้มาอยู่ในรูปประโยค Storytelling หรือคอนเทนต์ที่สวยหรู ประทับใจนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น : ทีมการตลาดได้จัดทำวิดีโอ Viral (ไวรัล) ขึ้นมาสักหนึ่งชิ้น แล้วปล่อยไปทางโซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีกลุ่มผู้คนให้ความสนใจจำนวนมาก (View) เรียกได้ว่าเป็น Talk of the moment สร้าง Awareness ได้ดี มียอดปฏิสัมพันธ์ (Engege: Like และ Share) จำนวนมาก ผู้ดูสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

แต่กลับไม่สามารถจดจำแบรนด์ได้เลย และไม่รู้ว่าเป้าประสงค์ หรือ Main Point ของวิดีโอตัวนั้นต้องการบอกอะไร แบบนี้ก็เท่ากับเงินลงทุนที่ทำไปไร้ประโยชน์  ซึ่งนับว่าคอนเทนต์มี Storytelling แต่ขาด Storyselling นั่นเอง

storyselling

Storyselling

Storyselling คล้ายกับ Storytelling แต่ต่างกันตรงที่ นักการตลาดหรือครีเอทีฟจะทำการสอดแทรกการขายในคอนเทนต์ให้แนบเนียนที่สุด น่าสนใจที่สุด กระตุ้นให้คนรู้สึกอยากได้ อยากเป็นเจ้าของที่สุดนั่นเอง มองอีกภาพหนึ่งก็คือขายของยังไงให้คน อยากดู อยากรู้ อยากซื้อ

ลองหลับตาแล้วนึกภาพระหว่าง “เซลล์สินค้า ที่ออกมายืนเล่าว่าสินค้าของคุณดีกว่าคนอื่นยังไง ผู้บริหารเป็นใคร สินค้าถูกพัฒนามาอย่างไรและมีส่วนผสมหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรบ้าง” 

กับ “เซลล์ที่หยิบสินค้าขึ้นมาแล้วบอกว่า ทำไมคุณถึงต้องมี วาดด้วยลีลา อารมณ์และความรู้สึก ทำให้คุณรู้สึกอินไปกับการขายนั้น ๆ จนคุณต้องควักเงินในกระเป๋าออกมานั่นแหล่ะ”

เมื่อนักการตลาดหรือครีเอทีฟสามารถสร้างคอนเทนต์ให้จับใจผู้ดูได้ การเลือกหยิบแบรนด์สินค้า หรือสอดแทรดสินค้าหรือบริการ อย่างแนบเนียนเพื่อให้ผู้ดูจดจำ รู้จักและกระตุ้นความต้องการได้ จึงจะนับเป็นประสิทธิภาพที่ดีของการสร้างคอนเทนต์ (Storyselling) เพื่อการตลาดและสร้างยอดขาย มีรายได้ และกำไรจากการลงทุนผลิตสื่อนั้น ๆ แล้วคุณล่ะอยากสร้าง Content ในรูปแบบไหน ?

ทีนี้เริ่มสงสัยแล้วใช่มั้ยว่า จะสร้าง Storytelling ออกมาอย่างไร เพื่อนำไปสู่การสร้าง Storyselling เรามีวิธีที่สะดวกเพียงคุณวิเคราะห์โดยไม่เข้าข้างตัวเอง โดยใช้ตารางนี้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้เลย

Storytelling Canvas (1411 downloads )
storytelling canvas daidee digital

ตารางนี้ Storytelling Canvas นี้จะช่วยให้คุณสร้าง Story ได้ง่ายขึ้น เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทีนี้มาทำความรู้จักกับแต่ละช่องเพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องกันเถอะ

  • Subject : หัวข้อหรือชื่อเรื่อง หรือ Content Topic คืออะไร ? 
  • Goal : จุดมุ่งหมายของคุณที่จะสร้าง Content เหล่านี้ คืออะไรล่ะ สร้างมาเพื่ออะไร ?
  • Audience : กลุ่มเป้าหมายที่คุณจะสื่อสารกับเขาเป็นใคร
  • Before : ก่อนหน้านี้สินค้าหรือบริการของคุณได้รับการตอบรับยังไงบ้าง ชอบหรือไม่ชอบ อยากให้ปรับตรงไหน ขาดข้อมูลตรงไหนไปบ้างล่ะ
  • Set the scene : มาถึงตรงนี้ลองร่างเรื่องราวที่คุณอยากจะถ่ายทอดออกมาดูสิ เช่น อยากคนเห็นรู้สึกฟรุ้งฟริ้ง สาว Y เห็นแล้วต้องปักใจเหมือนรักแรกพบ เหมือนดอกไม้เบ่งบานสีชมพู อะไรแบบนี้ก็ร่างออกมา
  • Make your point : สิ่งที่คุณอยากจะบอก มันสำคัญอย่างมากเลย เช่น แป้งตลับนี้เนื้อเนียน ปกปิด ใช้แล้วผิวหน้าไบร์ทด้วยส่วนผสมพิเศษที่เข้าบำรุงอย่างล้ำลึก …. อะไรแบบนี้ ก็ร่างออกมา
  • Conclusion :  ได้เวลาสรุป เอาล่ะ ตอนนี้ร่างออกมาว่าอืม.. ข้อเท็จจริงสินค้าหรือบริการของคุณเป็นยังไง ใช้ดีเห็นผลนานแค่ไหนก็ว่ากันไป รวมทั้ง เนื้อหาจะออกสู่สื่อไหนบ้าง ต้องสรุปมาเลยนะ เพราะแต่ละแพลตฟอร์มก็มีรูปแบบการนำเสนอที่ต่างกัน
  • After : วิเคราะห์ให้ดีอย่าเข้าข้างตัวเอง ถึงเรื่องราวนี้เมื่อกลุ่มเป้าหมายเห็นแล้ว คุณคิดว่าจะปรับทัศนคติ แล้วทำให้เขาสนใจสิ่งที่คุณสื่อและเข้าใจได้ดีหรือไม่ล่ะ 

อ่านจบแล้วได้เวลาลองทำแล้วครับ

  • ข้อมูลต่างๆ ตัวเลขต่างๆ (DATA) เป็นเรื่องที่ควรนำมาวิเคราะห์ มันช่วยได้อย่างดีเลยล่ะ
  • รู้ให้ลึก จับให้แม่นถึงพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย จะง่ายขึ้นตอนถ่ายทอด
  • แสดงให้เห็นถึงวิธีแก้ปัญหาด้วยการบอกว่าโปรดักส์คุณตอบ โจทย์เขาได้ยังไง ?
  • อย่าเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด ต้องหมั่นสำรวจข้อเท็จจริงของสินค้า
  • ให้เรื่องราวนั้นมีอารมณ์.. จะทำให้น่าสนใจมาก ไม่น่าเบื่อ
  • ทำเสร็จคุณและทีมสกรีนดูแล้ว มันต้องว้าว!!! และเข้าใจด้วยนะ

อ่านเรื่องคอนเทนต์แล้วสนใจ อยากเรียน SEO Content

Similar Posts