6 เทคนิคง่ายๆ สำหรับ Content Creator มือใหม่
รวม 6 เทคนิคสำหรับ Content Creator มือใหม่ไฟแรงเฟอร์
Content Creator คำฮิตติดปากที่คนรุ่นใหม่ เริ่มใช้กันมาในช่วงไม่กี่ปีมานี้เอง ในการทำการตลาด โฆษณาออนไลน์ หรือการสร้างสรรค์ต่าง ๆ แต่ก็ยังมีหลายคนกำลังที่พึ่งจะเริ่มเป็น นักทำคอนเทนต์ หรือ Content Creator โดยมีผลสำรวจอย่างชัดเจนจากงานวิจัยในงานที่คนรุ่นใหม่อยากทำ ถ้าเลือกได้
ผลก็คือ Youtuber / Content Creator / Caster หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สายงาน ซึ่งบริบทของงานเป็นตัวกำหนดให้ชื่อเรียกแตกต่างกันไป และทีมงานก็มีของดีมาฝากด้วย นั่นคือ 6 เทคนิคง่ายๆ สำหรับนักทำคอนเทนต์มือใหม่ ที่อยากก้าวสู่วงการแบบมืออาชีพ!
1. เข้าใจว่าเราทำ “คอนเทนต์” เพื่ออะไร
content creator มือใหม่มักจะหาแรงบันดาลใจ หรือไอดอลของตัวเอง ตัวเองชอบที่จะดูอะไร ทำอะไร หรือมีอะไรที่ลักษณะคล้ายๆ กับไอดอลที่ตัวเองชื่นชอบ แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นผลดีนักหากคุณกำลังคิดจะทำคอนเทนต์ ในลักษณะเดียวกันกับเขา เพราะว่ามันไม่แปลกใหม่เลย ทางที่ดีสิ่งแรกที่เราควรทำคือ หาคำตอบให้ได้ว่า เราจะทำคอนเทนต์ไปเพื่ออะไร มีประโยชน์ด้านใด เราเชี่ยวชาญแค่ไหน และเราทำให้ใครดู
2. สร้างเนื้อหาที่ “เข้าใจง่าย”
เอาละครีเอทีฟทั้งหลาย หากคุณกำลังมีของในหัวเต็มไปหมดและอยากปลดปล่อยมา เราเข้าใจว่าหลายคนนั้นมีความคิดสร้างสรรค์มันห้ามไม่ได้จริงๆ ที่จะใช้จินตนาการในการสรรค์สร้างคอนเทนต์ดีๆ แต่ห้ามเลยเลยนะว่า คอนเทนต์นั้นต้อง “เข้าใจง่าย” เนื่องจากคนทั่วไปในปัจจุบัน มักจะใช้เวลากับสิ่งที่ตัวเองสนใจกันอย่างเร่งรีบ หากเขาดูคอนเทนต์เราในขณะนั่งรถไฟฟ้า นั่งวินมอเตอร์ไซค์ ถ้าเนื้อหาเรายืดเยื้อและทำความเข้าใจยาก งงเป็นไก่ตาแตก ผู้ชมคงตีความไม่ออก
เช่น creator บางคนชอบทำจิงเกิ้ล หรือเกริ่นนำเป็นเวลายาวเพราะคิดว่าสวยดี น่าสนใจ แต่ผู้ชมจริงๆ อยากเห็นเนื้อหาที่เราอยากสื่อออกไปมากกว่าเสมอ ยุคนี้ต้องเร่งฝีเท้าให้ไว้นะ ถ้าอยากเป็น Someone !
3. ให้ความสำคัญกับ “ผู้เยี่ยมชม”
ต่อมาเราต้องให้ความสำคัญกับผู้ที่เสพย์คอนเทนต์เรา เมื่อเราเป็น Content Creator และเข้าใจดีว่าจะบอกอะไร สื่ออะไรให้กับผู้ชม เราควรให้ความสำคัญ กับกลุ่มผู้เยี่ยมชมไม่ว่าใครก็ตามที่จะมาเป็นแฟนคลับเรา ว่าเขาชื่นชอบ หรือมีพฤติกรรมอย่างไร ชอบทานอะไร ใช้สินค้าอะไร ชอบไปเที่ยวไหน เดินทางด้วยรถ เครื่องบิน ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เราสามารถวัดผลลัพท์ได้จากการดูข้อมูลในคอนเทนต์ของเราเอง หรืออาจใช้เครื่องมือช่วยก็ได้ เมื่อเราเริ่มทำมาได้สักระยะหนึ่ง เราก็จะมีข้อมูลในมือเพื่อนำไปพัฒนาต่อ จงจำไว้เสมอว่าการเข้าใจผู้ชมได้นั้นไม่ใช่การมโน หรือคิดไปเอง ทึกทักเอาเองว่าเขาต้องชอบแบบนั้น ชอบแบบนี้แน่ๆ เลย ยุคทองของดาต้าแบบนี้ เราจำเป็นต้องใช้ตัวเลขวัดผลกันเท่านั้น เราจึงจะรู้จิตใจของผู้ชมอย่างแท้จริงนะ
4. “รีไซเคิล” คอนเทนต์บ้างก็ได้
Creator ที่เคยทำคอนเทนต์มาได้สักระยะหนึ่ง อาจจะหลายเดือนหรือเป็นปี แนะนำให้ลองกลับไปดูคอนเทนต์ตัวเอง ว่าเราทำไว้ดีหรือไม่ บทความยังน่าอ่านอยู่ไหม วีดีโอมีส่วนไหนยังน่าสนใจอยู่ เรานำสิ่งเหล่านั้นมาต่อยอด และสามารถนำมาโพสต์อีกได้ อาจจะทำเป็นรูปแบบอื่น เช่น บทความเราเขียนเรื่องการ์ตูน เราลองเอามาทำเป็นวีดีโอดีไหม หรือทำ Podcast เรื่องเก่าแต่มาเล่าให้สนุก แค่นี้ก็ได้คอนเทนต์ดีๆ เพิ่มขึ้นแล้วนะ
5. ยอมรับความจริง
ผู้สร้าง หรือ content creator ที่ดีนั้นต้องมีทัศนคติที่ดีเพราะอะไรนะเหรอ นั่นก็เพราะว่าการคิดบวกช่วยให้เรานั้นไม่มีอคติต่อแฟนๆ เราที่ติดตาม หลายครั้งครีเอเตอร์เองไม่เปิดใจรับฟังความเห็นจากแฟนคลับ พาลไปสู่ดราม่ามากมายจนผู้ติดตามหายเป็นหลักแสน จงเปิดใจให้กับทุกความเห็นและนำมาปรับปรุง แม้บางถ้อยคำอาจจะทำให้เราเจ็บปวด แต่การเจ็บแล้วจำเราไม่ต้องทนนะ เจ็บแล้วจำเพื่อนำไปปรับปรุงนั่นสิคือยอดคน โอเครปะ!
6. ให้กำลังใจตัวเองเสมอ
ปัญหาที่ทุกคนจะต้องเจอนั่นก็คือ Burn out หรือการหมดไฟ เพราะการหมดไฟในการสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เรากล้าพูดได้เลยว่า “ใครไม่เคยหมดไฟคนนั้นไม่ใช่มนุษย์” สิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้ คือ กำลังใจ ไม่ว่าจะเป็นกำลังใจจากคนรอบข้าง ครอบครัว หรือถ้าไม่มีจริงๆ ตัวเราเองนี่แหละดีที่สุด
คุยกับตัวเองดูว่า..สิ่งที่เราทำมาทั้งหมดนี้ เราทำเพื่ออะไรและทำเพื่อใคร…ไม่ใช่เพื่อที่ตัวเองจะได้เป็น Someone หรอกเรอะ? หรือเราแค่มาเล่นๆ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน
สุดท้ายอยากจะฝากให้มือใหม่ทุกคน อย่าละทิ้งเป้าหมาย ให้นึกถึงผลลัพท์ ที่จะได้กับตัวเองและผู้ชมเนื้อหา เพื่อเป็นกำลังใจให้เราก้าวต่อ ที่สำคัญ คือ อย่าหยุดเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพราะผลลัพท์ที่ดี เป็นส่วนหนึ่งที่เติมเต็มความสุขมาให้เราได้เช่นกัน เพราะเมื่อเราให้ เราก็มีสิทธิ์จะได้รับกำลังใจดีๆ ที่จะถูกส่งต่อมาให้เรา เพราะความจริงมันเป็นเช่นนั้นเสมอ..